UXTH 2024 workshop day

สวัสดีค่ะ ชื่อมะเหมี่ยวนะคะ เป็น developer อยู่ที่ Thoughtworks ค่ะ เนื่องจากสนใจ product, ux, user research เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็เลยสนใจมาเข้าร่วมกิจกรรม workshop ในงาน UXTH 2024

พอบอกไปว่าเป็น dev คนจะฟีลว่าดูไม่เกี่ยวกับ UX เนอะ หลายคนก็คิดว่ามันจะเกี่ยวกันตอนทำ design อะไรงี้ ซึ่งจริงๆ มันเกี่ยวนะ แม้เราจะอยู่ในทีม tech ที่ไกลลลลลแสนไกลจาก user สุดท้ายไอ้ที่เราทำ มันก็มีใครเป็น user อยู่ดี แค่อาจจะไม่ใช่ end user แค่นั้นเอง

วันนี้ก็ไปด้วย objective ว่า

  1. อยาก update ตัวเองให้ยัง relate อยู่กับสาย ux/product – เพราะห่างหายไปนานเลยหลังจากมาทำ dev consult ที่ thoughtworks ก็ยังอยากทำ product อยู่แต่ไม่มีโอกาสได้แตะขนาดนั้น
  2. อยากเปิดมุมมองว่าแม้ role เราในทีมตอนนี้ไม่ได้ทำ product ตรงๆ (ทำ dev) แต่จะเอาความรู้ตรงนี้มาใช้ยังไงได้บ้าง – หาทำแหละ 555 แต่จริงจังอันนี้ละสุดท้ายได้คำตอบนะ
  3. ทำความรู้จักคนใหม่ๆ

Practical Tools for Fast Learning and Better Decisions

workshop นี้ โดย Jonny Schneider และ Martin Eriksson ได้ข่าวว่ามี session วันก่อนที่ก็พูดไว้ดีด้วย เรื่องต่อเนื่องกันกับ workshop นี้ อาจจะไปหาฟังต่อค่ะ

ได้จับกลุ่มกับเพื่อนๆ ในคลาส ซึ่งเขาก็ให้คนที่มาจากบริษัทเดียวกันจับด้วยกัน จะได้ tackle ปัญหาที่เจอในงาน แต่เรามาคนเดียว ก็เลยได้นั่งกับเพื่อนๆ ที่มาคนเดียวด้วยกันอีกรวม 4 คน

session นี้ตอนแรกก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะตอบโจทย์ที่เราตั้งไว้ก่อนมาขนาดนั้นนะ แต่กลายเป็นตอบโจทย์เฉย ที่ว่าเราไม่ได้ทีม product แต่เราเป็น dev ที่อยู่ไกลแสนไกลจาก vision / strategy เราจะทำอะไรได้บ้าง คำตอบคือ

  • ทำความเข้าใจวิธีการตัดสินใจของลูกค้า องค์กรมี vision อะไร strategy ที่เขาลงทุนคืออะไร แล้วสิ่งที่เราทำ มันไปตอบโจทย์ตรงไหนในภาพนั้น
  • เทำความเข้าใจแล้วเราก็จะเห็น opportunity ที่จะขายงานได้ ที่จะทำงานได้ดีขึ้น ตอบโจทย์ลูกค้าได้ตรงจุด ตรงใจ

workshop สอนวิธีคิด วิธีทำ decision stack เราจดสรุปไว้แต่คงไม่ได้มาสรุปให้อีกรอบในนี้ ขอจดเป็น key takeaways แล้วกันค่ะ

  • 10 experiments > 1 mvp
  • strategy without actions = we don’t go anywhere
  • don’t spend time thinking about perfect strategy. just experiments and adapt
  • It’s ok if you are too far from organization visions and strategy. You worry too much on that. Just focus on your team first.
  • understand relationships between visions -> strategy -> objectives -> opportunities. (don’t need to use these words. * important part = relationship between words and agreement what these words are in the team)
  • List assumptions on objectives
    • plot to impact-confident graph
    • high impact / low confident = assumption to validate
  • Decisions are made of answers of the meaningful questions
  • To list assumptions is one of how we get meaningful questions
  • *** keep experiment small and often
  • FAST > QUALITY

คิดว่าจะลองเอา workshop นี้ไปรันกับทีมดูนะ น่าจะทำให้เราเข้าใจลูกค้ามากขึ้น และจะช่วยให้เราทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อทุกคนเก็ทว่า เราทำไปทำไม และอาจจะเห็น opportunities ที่สามารถทำอะไรกับมันต่อได้

โดยเนื้อหาแล้วถ้าเราเป็น role product ก็ได้วิธีคิด ที่จะเอาไปใช้ตัดสินใจแหละ แต่พอเรามาในหมวกนี้เลยได้ข้อสรุปเป็นอีกแบบค่ะ

Learn and Play: A Hands-On Workshop on Lean, Agile, and Design Thinking

session นี้ เล่นเกมค่ะ 3 เกม โดย Apirak Panatkool พี่แบงค์ และ Pete Chemsripong พี่พีทค่ะ กะว่าคนเรียนจะเอาไปรันต่อเองที่ออฟฟิศได้ ก็คิดว่าอาจจะพอได้นะ แต่ไม่แม่น สมองเบลอ 555 จำได้ไม่หมด

Hero’s omelette

ไม่สปอยแล้วกันว่าเล่นอะไร แต่ชอบเกมนี้ที่สุด บางอย่างเราเข้าใจหลักการอยู่แล้ว แต่พอทำจริง ก็ไม่ถูก เกมนี้ทำให้เราเข้าใจว่าไอ้ที่ไม่ถูกมันคืออะไรนะ สำหรับเรา แล้วมัน map ได้เห็นภาพชัดดีว่าสิ่งนี้ในเกม = สิ่งไหนในของจริง

  • empathy user สิ เขาจะทำแบบนี้จริงๆ หรอ มันเป็นเพราะเราคิดแบบนั้นเลยคิดว่าเขาจะคิดแบบเดียวกันด้วยหรือเปล่า? เรา รู้จัก user เราจริงๆ หรือเปล่า
  • การ work alone together บางทีการไม่คุย ไม่พูด ทำงานลำพัง ก็ทำให้เราโฟกัสกับสิ่งที่จะทำได้ดีหว่า
  • ทำเลย ไม่ต้องขอ! จะเลื่อนการ์ดนี้ไปตรงนี้นะ มีใครติดไรมั้ย? -> ไม่ต้องถาม ทำเลย เดี๋ยวมันผิดหรือไม่ได้ก็มีคนมาแก้เลย “It is better to ask forgiveness than permission”
  • คนในทีมมีโฟกัสไม่เหมือนกัน บางคนมอง journey ทำกับข้าว ก็ไปเน้นตรงค้นหาวัตถุดิบ บางคนก็เน้นตอนทำอาหารเข้าครัว เหมือนกับเราทำงาน คนละ role dev/designer/business เรามุมมองไม่เหมือนกันแต่เรื่องเดียวกัน ทำยังไงให้เราเอาสิ่งที่ทุกคนรู้มาใช้ประโยชน์สูงสุด
  • บางอย่างงานมันไม่มีอะไร ก็ไม่ต้องไปเติม ไปทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่สาระสำคัญ เราสามารถคราฟจุดๆ เดียวนั้นที่สำคัญให้ดีขึ้นได้
  • เมื่อรู้ตัวว่าเรารู้จัก user ไม่ดีพอ ก็ไปทำความรู้จักซะ

Pizza Kanban

อันนี้ปวดสมองมากบอกตรง ระแวงไปหมด ว่าโจทย์จะเป็นอะไร ไม่สปอยเหมือนเดิมว่าเล่นอะไร key takeaways คือ

  • อย่าทำเผื่อ ไร้ประโยชน์ เดี๋ยวลูกค้าก็เปลี่ยน
  • กติกาสำคัญ ถ้าไม่รู้ ไม่แน่ใจ ก็ hold ไว้ก่อนดีกว่า บางทีทำไปโดยไม่รู้ สู้อยู่เฉยๆ จะดีกว่า
  • การสื่อสารสำคัญ คุยกันให้รู้เรื่อง บางทีเราคิดว่าเราเข้าใจกันแต่จริงๆ ไม่ แล้วมันส่งผลต่องาน
  • เวลาคุยกัน เช่น daily standup ก็ให้พูดเรื่อง process ด้วย มีอะไรสำคัญ ส่งผลต่อทีม ก็พูด เหมือนตอนเราเล่นเกมนี้

คนชอบเกมนี้กันเยอะ สำหรับเราเราว่ามันก็ดีนะ แต่ใช้พลังงานเยอะเกิน เหนื่อยอะ แง จริงจังกับเกมเกิน

Paper Tower

เกมนี้สอนอะไรเริ่มจะจำไม่ได้เพราะมึนจากเกมเมื่อกี้555 สำหรับเราสิ่งที่ได้คือ

  • ลองเลย fail fast ทีมเรามีหลายไอเดีย แต่เราเริ่มกันช้าเพราะมัวแต่ discuss กันว่าทำแบบไหนดี ทั้งที่จริงๆ ก็สามารถ validate idea ได้เลย
  • การสื่อสารสำคัญ (อีกแล้ว) ทีมเราชนะด้วยไอเดียที่ถูกพูดขึ้นมาอันแรก แต่ทีมไม่ทำเพราะเข้าใจอีกแบบ คิดว่ามันไม่เวิร์ค
  • ให้ความสำคัญกับรากฐาน
  • ใช้เวลากับการทำให้ดีที่สุดมากเกินไป เอาแค่พอใช้ก็ชนะได้แล้ว (คือมันก็ต้อง บาลานซ์แหละนะ)

เพิ่มเติมให้ได้นะคะ คิดว่า recap ได้ไม่ครบสำหรับเกมนี้

บรรยากาศ

เรามาแค่ workshop วันนี้วันเดียว แต่งานจริงๆ มี event online/offline มาก่อนแล้ว อาจจะไปย้อนดูคลิป รู้สึกมีหัวข้อน่าสนใจเยอะเลย ทุกคนแบบมี session ที่ชอบในใจ

เป็นครั้งแรกที่เข้ามาใน community ux นะ ทุกคนน่ารักมาก เป็น commu ที่ให้ความรู้สึกเป็นกันเองง เฟรนลี่ เวลคั่ม อาจจะเพราะเป็นคนที่ต้องทำงานกับคน ต้องใช้ empathy อยู่แล้วก็เป็นได้ ทุกคนคุยด้วยดี มีมาทักก่อน เราที่มาคนเดียว ไม่รู้สึกเป็นคนนอกเลย ทั้งที่คนอื่นๆ เขาก็รู้จักกันอยู่แล้ว มาเป็นกลุ่มกัน

ยินดีที่รู้จักทุกคนนะคะ และขอบคุณผู้จัด / sponsors ที่จัดงานดีๆ งี้ขึ้นมา คุยกับทุกคน ทุกคนบอกว่างานดีหมดเลยนะ ประทับใจ จัดครั้งหน้าก็น่าจะลองมาอีกเป็นครั้งที่ 2 ค่ะ 💖


Posted

in

,

by

Tags:

Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *